>>> หากดูจากรูปภาพความแตกต่างทางกายภาพของ SPM และ IPM จะเห็นภาพรวมดังนี้
– โครงสร้างด้าน Stator จะมีลักษณะเหมือนกันมีช่องสำหรับพันขดลวด
– โครงสร้างภายในแกนโรเตอร์ (Rotor) จะมีความแตกต่างกันชัดเจนคือ SPM ชุดแม่เหล็กถาวรจะติดอยู่ที่ผิวของโรเตอร์ ตามชื่อ Surface mounted permamemt magnet motor (SPM)
– โครงสร้างภายในแกนโรเตอร์ (Rotor) ของ IPM จะจัดวางชุดแม่เหล็กถาวรอยู่ด้านในของแกนโรเตอร์ อาจมีการจัดวางแบบตามขอบผิวดังรูปสำหรับมอเตอร์ทั่วไป แต่หากนำมอเตอร์ชนิดนี้มาใช้ในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าจะมีการจัดวางรูปแบบ V หรือแบบ U เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษด้านการสร้างแรงแม่เหล็ก แรงบิด และแรงฝืน ในการสั่งงานให้ทำงานในรูปแบบต่างๆ
– เปรียบเทียบจากกราฟจะเห็นว่ามอเตอร์แบบ SPM จะมีประสิทธิภาพด้อยกว่า IPM ที่ความเร็วรอบสูงทำได้เพียง 92% (หากเปรียบเทียบกับ ACIM ยังด้อยกว่าประมาณ 2-3%)
– ที่ช่วงความเร็วรอบต่ำเช่นเมื่อผ่อนคันเร่ง มอเตอร์แบบ SPM ประสิทธิภาพจะลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่แรงบิดต่ำๆ จะได้ได้เพียง 92% เท่านั้น ที่ความเร็วรอบสูงก็ตกอย่างรวดเร็วเช่นกันเหลือเพียง 85%
>>> เท่าที่ทราบมาการนำเข้าชุดสำหรับรถไฟฟ้าดัดแปลง (EV Conversion kit) มอเตอร์ PMSM ส่วนใหญ่ในบ้านเราที่นำเข้าเกือบร้อยละ 90 จะเป็นชนิด SPM (Serface Permanent Magnet) ไม่เหมือนกับที่ใช้ในรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ที่มีขายในบ้านเรา หากได้ทดสอบขับเปรียบเทียบกัน ความรู้สึกที่ได้ที่ความเร็วรอบปลาย หรือในช่วงแตะคันเร่งน้อยๆ (แรงบิดต่ำๆ) จะรู้สึกถึงการตอบสนองแบบหน่วงๆ ประสิทธิภาพจะต่ำกว่ามอเตอร์ชนิด ACIM อีกนะครับ
ฝากติดตามใน Facebook ; LinktechEV และ youtube, IG ; linktech_ev ด้วยนะครับ
บทความโดย : Thammakorn
เครดิตข้อมูลจาก Engineering Team